ทำความรู้จักกับ ระดับอาการบาดเจ็บในร่างกาย รู้ก่อนแก้ทัน รู้ช้าอาจจะสายไป…
แม้เทรนด์การวิ่งออกกำลังกายสำหรับคนรักสุขภาพนั้นจะดีต่อสุขภาพแต่จะหมายการออกกำลังกายที่รุนแรงเกินไป อาจทำให้ได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งมีผลเสียต่อกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ ของร่างกายควรหยุดใช้งานส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บทันที โดยเฉพาะช่วง 6 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บ และ 48 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนในรูปแบบต่างๆกรณีรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัดไม่ได้ผล หรือการบาดเจ็บที่ค่อนข้างรุนแรง และไม่เพียงเท่านั้นเกือบทุกอาการ(ที่หนักมาก)จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง ที่ช่วยลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อข้างเคียง ฟื้นตัวเร็วขึ้น สามารถส่องกล้องเข้าไปในจุดที่ยากต่อการมองเห็นด้วยการผ่าตัดแบบปกติ ทำให้การรักษาแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้นการออกกำลังกายถือว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกคน แต่การออกกำลังกายที่รุนแรงเกินไป อาจทำให้ได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งมีผลเสียต่อกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะข้อที่มีการรับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า หรือบริเวณข้อเท้า การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาคือการเล่นกีฬาแล้วเกิดการกระทบกระทั่ง มีผู้อื่นมากระทำ หรือแม้แต่เสียหลักด้วยตัวเองแล้วเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อต่างๆ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เหมือนเดิม รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวันเสียไปหรือลดน้อยลง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบที่หนึ่งได้แก่การบาดเจ็บที่เกิดจากตัวเอง (Non-contact Injury) เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากตัวเอง มีการขยับผิดจังหวะ จนทำให้มีการบิดตัว จนกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อได้รับบาดเจ็บหรือมีการฉีกขาด…